วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search Engine

Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
ตัวอย่าง Search Engine ที่เรารู้จัก
sanook.com
 google.com
 yahoo.com
 msn.com
เทคนิคการค้นหาข้อมูลขั้นสูงด้วย Google
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ

Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน
16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com%29/
17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อดีของบล็อก

            1. เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
            2. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
            3. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก
            4. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
            5. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
            6. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อกด้วยกัน
            7. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
            8. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวันของเราได้
            9. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพื่อนเก่า ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
            10. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
            11. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน    
            12.  ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาทางวิชาการ      
13. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน
เว็บที่สนใจ
http://www.teenee.com/

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

นวัตกรรมที่จะนำมาเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนคือ E-book จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน ในเรื่อง   การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม ระดับชั้น ประถมศึกษา เทคโนโลยีนี้จะนำ E-Book มาใช้เพื่อแสดงเนื้อหา และตัวอย่างใน เรื่อง การบวก การลบ การคูณและการหาร จำนวนเต็ม และมีการทำแบบทดสอบ เพื่อให้เด็กๆสะดวกในการทำแบบทดสอบ และทำให้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนการสอนได้เจอกับเทคโนโลยีใหม่ด้วย

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

            (http://learners.in.th/%20%20%20)  สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องราวของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงและเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรีเข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่างๆได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
            กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
            (http://www.edtechno.com/site/index.php?option-com_content&view) “สื่อหลายมิติแบบปรับตัว (Adaptive Hypermedia) หมายถึง ความสัมพันธ์กัน ระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ(Model)ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคล
            กล่าวโดยสรุป รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนก็อาจจะเป็นการผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่างๆ ที่จะสอนในลักษณะสื่อหลายมิติ หรืออาจะเป็น สื่อหลายมิติแบบปรับตัว เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีการตอบสนองไม่เหมือนกัน

เอกสารอ้างอิง

สื่อการสอน

        (http://sayan201.blogspot.com/) สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอน  สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภท คือ
            1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
            2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
            3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
            (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน 
            (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415) บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
             (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415) เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
             (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415) ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า

            กล่าวโดยสรุป  สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
เอกสารอ้างอิง
  • (http://sayan201.blogspot.com/)  เข้าถึงเมื่อ23 กรกฏาคม 2554
  •  (http://www.gotoknow.org/blog/paitoon/231415) เข้าถึงเมื่อ23 กรกฏาคม 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ

            (http://www.itexcite.com/ IT-Learning)เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology, IT) หมายถึงเทคโนโลยีในการประมวลผลสารสนเทศ (คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว) ซึ่งก็คือเทคนิควิธีการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการข้อมูล (ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล) เช่น การจัดเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การแสดงผลข้อมูล เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การจัดการข้อมูล เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาและความก้าวหน้าต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา
บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ทุกวันนี้โลกของเรามีเทคโนโลยีและความก้าวหน้าต่างๆ เกิดขึ้นมามากมาย คอมพิวเตอร์ กลายเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ทุกบ้าน จนแทบจะเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องมือสื่อสารระหว่างกัน กลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทุกวันนี้เรามีอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ไว้ใช้งานมากมาย ทั้งสมาร์ทโฟน ระบบนำร่องติดรถยนต์ แท็บเล็ตฯ และอีกมากมายหลากหลายตัวอย่างที่ไม่ได้กล่าวอ้าง จะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในด้านการสื่อสารข้อมูล การนำเสนอสื่อมัลติมีเดีย หรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ระบบสารสนเทศ จึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                (http://www.kkw.ac.th/kkwweb/teacherhead/webpookie/pensil/lesson1.htm)เดล ( Dale 1969 : 610) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้ปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว 
              (http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb/Lesson%2022.htm)Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย           
            1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

            กล่าวโดยสรุป  ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

เอกสารอ้างอิง

เทคโนโลยี


      (http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3) เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับลักษณะของเทคโนโลยี
            (http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_ ... it4_2.html) ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

            (
http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_ ... it4_2.html )สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
     กล่าวโดยสรุป  เทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
เอกสารอ้างอิง
http://arc.rint.ac.th/center/pongsak/e_ ... it4_2.html   เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฏาคม   2554
http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3  เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฏาคม   2554

นวัตกรรมทางการศึกษา

         
            (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138). นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น       
           
            กิดานันท์  มลิทอง (2540 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
           
            (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138). นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
    
             กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาวิธีการใหม่  มาใช้ในการปรับปรุงส่งเสริมคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในทุก  ด้าน

เอกสารอ้างอิง
  • (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138). เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฏาคม 2554
  • images.minint.multiply.multiplycontent.com/.../ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา.doc?...เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฏาคม 2554

นวัตกรรม

( http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138.)ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

            จรูญ วงส์สายัณห์  ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา )ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันไป 2 ระดับ โดยทั่วไป    นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด  จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่  เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง  ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ  เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น

            ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา ) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่  ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่  ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

            สวัสดิ์ บุษปาคม ( 2517 )ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการกระทำการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่าง  ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

            กล่าวโดยสรุป นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่  เข้ามาใช้ในระบบการทำงาน การนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่  เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขี้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อพัฒนาไปสู่การมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมจะต้องมีการคิดค้นและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานของแต่ละด้าน

เอกสารอ้างอิง

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

                 ( http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321.) กล่าวไว้ว่าการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
            (http://dontong52.blogspot.com/)ได้กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
3) มุขภาพจิตดีขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วน การประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
            กล่าวโดยสรุป  การส่งเสริมการเรียนแบบร่วมมือ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือมี ประการ ได้แก่
            1)  การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน 
            2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
             3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
             4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
             5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

เอกสารอ้างอิง

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

            ณัชชากัญญ์( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
                 ( http://www.niteslink.net/) ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
               ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช(วชิราวุธวิทยาลัย,2541 , 8-13) กล่าวไว้ว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองจะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด มักขึ้นกับบทบาทของครู ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนให้สอดคล้องกับแนวคิด ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียนเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงาน และกระบวนการหรืออาจประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานเป็นต้น
            กล่าวโดยสรุป หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ 1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล 2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี 3) มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
  • http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486.   เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554
  • http://www.niteslink.net/   เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554
  • ทิศนา แขมมณีผู้รวบรวม ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช(วชิราวุธวิทยาลัย,2541 , 8-13)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)


            (http://www.oknation.net/) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)
             http://www.learners.in.th/blog/nattakarn119/411534 ) Constructionism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี Constructionism พัฒนาโดย Seymour Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology)   แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นด้วยตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน และจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย แลตลอดจนสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นการประดิษฐ์คิดค้นในเรื่องต่างๆ ตามที่สนใจ จะเห็นว่าในปัจจุบันความรุ้แบบนี้มีมากมายที่นำมาอำนวยประโยชนื หรือเพิ่มความสะดวกในการดำเนินชีวิตของคนเรา
            (http://gong.web.officelive.com/Constructionism.aspx) บรูนเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลข่าวสารจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสำรวจสิ่งแวดล้อม บรูนเนอร์เชื่อว่าการรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือกหรือสิ่งรับรู้ขึ้นกับความใส่ใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ การเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ คือ
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนแต่ละคนมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน
3. พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาจะเห็นได้ชัดโดยที่ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้าที่ให้เลือกได้หลายอย่างพร้อม ๆ กันวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้
ขั้นพัฒนาการที่บรูนเนอร์เสนอมี 3 ขั้น คือ
1. วิธีการที่เรียกว่า เอนแอคทีป (Enactive Mode) ซึ่งเป็นวิธีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือผลักดึง
2. วิธีการที่เรียกว่า ไอคอนนิค (Iconic Mode) เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการหรือมโนภาพ (imagery) ขึ้นในใจได้
3. วิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ หรือ Symbolic Mode วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้ในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนมีความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
            กล่าวโดยสรุป     ทฤษฎี (Constructionism) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืม และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เอกสารอ้างอิง

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)


             (http://52040033.web.officelive.com/99.aspx)ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา  มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็นทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไปในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเองต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยาเพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น
            http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
            (http://www.smartdcamp.com/)ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
            กล่าวโดยสรุป  ปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเองซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน
เอกสารอ้างอิง
  • http://52040033.web.officelive.com/99.aspx เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กรกฏาคม 2554