( http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138.)ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงส์สายัณห์ ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา )ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรม ไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันไป 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่ง ซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ การทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( หน้า13 : นวัตกรรมการศึกษา ) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
สวัสดิ์ บุษปาคม ( 2517 )ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า หมายถึง การปฏิบัติหรือกรรมวิธี ที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้หรือการกระทำการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
กล่าวโดยสรุป นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในระบบการทำงาน การนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขี้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อพัฒนาไปสู่การมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยนวัตกรรมจะต้องมีการคิดค้นและพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับงานของแต่ละด้าน
เอกสารอ้างอิง
- http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138. เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฏาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น